ความรู้เกี่ยวกับการเข้าพรรษา

เข้าพรรษา
พระภิกษุทุกรูปรวมทั้งพระอาคันตุกะต้องประชุมพร้อมกันในเขตสีมา พระเถระนำบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วภิกษุทุกรูปกราบประธานสงฆ์ จากนั้น นั่งพับเพียบพระเถระอธิบายเรื่อง การเข้าพรรษา” โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึง
- การบอกเขตอาวาสทั้ง ๔ ทิศ
- การรับอรุณ
การครองผ้า
- การสัตตาหะ
- ระเบียบวัด หรือกติกาอื่น ๆ ที่ควรรู้
จากนั้นให้อธิษฐานพรรษา โดยเริ่มตั้งแต่พระเถระก่อน ดังนี้

คำอธิษฐานพรรษา
อิมัส๎มิง อาวาเสอิมัง เตมาสังวัสสัง อุเปมิ.
ข้าพเจ้าขออธิษฐานจำพรรษาอยู่ในอาวาสนี้ ตลอด ๓ เดือน
( กล่าว ๓ หน)
คำขอขมา
พระลูกวัดกล่าว ๐
เถเร ปะมาเทนะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตังสัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.
โทษทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เพราะความประมาทในท่าน ขอท่านจงงดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ.

พระเถระกล่าว ๐
อะหัง ขะมามิตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.
ข้าพเจ้างดโทษให้ แม้เธอทั้งหลายก็จงงดโทษให้ข้าพเจ้าด้วย

พระลูกวัดกล่าว ๐
ขะมามะ ภันเต. ข้าพเจ้างดโทษให้ขอรับ.


คำขอนิสัย
(แปลว่ากิริยาที่พึ่งพิง)
ภิกษุผู้พึ่งอุปัชฌาย์ได้ชื่อว่า สัทธิวิหาริ แปลว่า ผู้อยู่ด้วย
ภิกษุผู้อาศัยอาจารย์ชื่อว่า อันเตวาสิก แปลว่า ผู้อยู่ในสำนักฯ
ภิกษุที่ควรต้องถือนิสัยคือภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ หรือพ้นแล้วแต่ไม่รู้พระธรรมวินัยพอจะรักษาตัวได้และ พระภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษโดยฐานนิยสกรรม(ถอดยศ)

พระลูกวัดกล่าว ๐
อาจะริโย เม ภันเต โหหิอายัส๎มันโต นิสสายะ วัจฉามิ.
ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะอยู่อาศัยท่าน (กล่าว ๓ หน)
พระเถระกล่าว      โอปายิกัง. ชอบด้วยอุบายแล้ว
พระลูกวัดกล่าว    ๐ สาธุ ภันเตดีแล้วขอรับ,;
พระเถระกล่าว      ๐ ปะฏิรูปัง. ชอบด้วยอุบายแล้ว,;
พระลูกวัดกล่าว    ๐ สาธุ ภันเตดีแล้วขอรับ,;
พระเถระกล่าว      ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ,จงทำกิริยาน่าเลื่อมใสไปเถิด
ระลูกวัดกล่าว    ๐ สาธุ ภันเต. ดีแล้วขอรับ.

คำรับเป็นธุระ
พระลูกวัดกล่าว ๐
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโรอะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร.
ตั้งแต่วันนี้ไป พระเถระย่อมเป็นภาระของข้าพเจ้าแม้ข้าพเจ้าก็ย่อมเป็นภาระของพระเถระ, (กล่าว ๓ หน)
พระผู้นำลูกวัด เดินเข่าไปประเคนพานเครื่องสักการะ จากนั้นพระลูกวัดทั้งหมดกราบพระเถระพร้อมกันอีก ๓ ครั้ง
พระเถระให้โอวาทตามสมควร.

คำสัตตาหะ
สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิตัส๎มา มะยา คันตัพพังอิมัส๎มิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.
กิจธุระที่ควรทำใน ๗ วันมีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงไปข้าพเจ้าจะกลับมาภายใน ๗ วัน
( คำว่า กลับมาภายใน ๗ วัน คือ ต้องกลับมารับอรุณที่ ๗ ในวัดที่ตนอยู่จำพรรษา จะไปพักแรม ครบ ๗ วัน แล้วกลับมารับอรุณที่ ๘ ไม่ได้.)


คำทำสามีจิกรรม
ในช่วง ๗ วันแรกของการเข้าพรรษา มีธรรมเนียมของสงฆ์อย่างหนึ่งที่จะทำสามีจิกรรมต่อพระเถระที่อยู่ต่างวัดในละแวกใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อความสามัคคีกันในหมู่สงฆ์ มีลำดับขั้นตอนดังนี้
๑. จัดเครื่องสักการะ มักใช้ธูปเทียนแพ มีกระทงดอกไม้ วางบนแพธูปเทียน หรือ จะใช้ดอกไม้ธูปเทียนในลักษณะอื่นสุดแต่จะจัดได้
๒. ครองผ้าให้เรียบร้อย ถ้าเป็นพระภิกษุให้พาดสังฆาฏิด้วย
๓. ถือพานด้วยสองมือ เข้าไปหาพระเถระคุกเข่าลง วางพาน แล้วกราบ ๓ ครั้ง ยกพานขึ้นประคองระดับอก นิยมกล่าวพร้อมกันว่า
อุกาสะ วันทามิ ภันเตสัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเตมะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพังสามินา กะตัง ปุญญัง มัยหังทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ,;

๐ ถ้าไปพร้อมกันหลายรูป ให้กล่าวต่อดังนี้
ผู้ขอขมา ๐ เถเร ปะมาเทนะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตัง สัพพังอะปะราธังขะมะตุ โน ภันเต.

พระเถระ ๐ อะหัง ขะมามิตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.

ผู้ขอขมา ๐ ขะมามะ ภันเต.

๐ ถ้าไปรูปเดียว ให้กล่าวต่อดังนี้
ผู้ขอขมา ๐ เถเร ปะมาเทนะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตังสัพพังอะปะราธังขะมะถะ เม ภันเต.

พระเถระ ๐ อะหัง ขะมามิตะยาปิ เม ขะมิตัพพัง.

ผู้ขอขมา  ๐ ขะมามิ ภันเต.

๔. น้อมพานเครื่องสักการะเข้าไปประเคน และกราบ ๓ ครั้ง ถ้าพระเถระจะเมตตาให้พร หรือให้โอวาท พึงนั่งพับเพียบประนมมือฟัง ในอาการสำรวม.

ปวารณาพรรษา
ในวันออกพรรษา (เพ็ญเดือน ๑๑) มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุทำปวารณาแทนอุโบสถ ถ้าภิกษุไข้ไม่สามารถมาร่วมพิธีได้ ให้มอบปวารณาแก่ภิกษุอื่น


วิธีพินทุ
ภิกษุผู้ได้จีวรใหม่ ต้องทำเครื่องหมายก่อนจึงนุ่งห่มได้ โดยทำเป็นจุดกลม ไม่เล็กกว่าหลังตัวเรือด ไม่ใหญ่กว่าแววตานกยูง ที่มุมใดมุมหนึ่งบนผ้า ด้วยสีเขียว(คราม) หรือสีโคลน หรือสีดำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ เป็นตัวอักษรก็ได้ ในขณะทำเครื่องหมายให้กล่าวคำพินทุดังนี้

คำพินทุ
อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ.
ข้าพเจ้าขอทำเครื่องหมายผ้าผืนนี้.

คำอธิษฐานบริขาร (ในหัตถบาส)
สังฆาฏิ      ๐ อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนนี้.
จีวร          ๐ อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าจีวรผืนนี้.
สบง         ๐ อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏ ฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสบงผืนนี้.
บาตร        ๐ อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้
ผ้าปูนั่ง      ๐ อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนั่งผืนนี้.
ผ้าปิดฝี      ๐ อิมัง กัณฑุปะฏิจฉาทิง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปิดฝีผืนนี้.
ผ้าอาบน้ำฝน ๐ อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้.
ผ้าปูนอน (ผืนเดียว) ๐ อิมัง ปัจจัตถะระณัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนอนผืนนี้.
(หลายผืน)   ๐ อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนอนเหล่านี้.
ผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดปาก
(ผืนเดียว)    ๐ อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าผืนนี้.
(หลายผืน)   ๐ อิมานิ มุขะปุญฉะนะโจลานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าเหล่านี้.
ผ้าบริขาร (เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ)
(ผืนเดียว)    ๐ อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าบริขารผืนนี้.
(หลายผืน)   ๐ อิมานิ ปะริขาระโจลานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าบริขารเหล่านี้.

คำถอนอธิษฐาน
สังฆาฏิ   ๐ อิมัง สังฆาฏิง* ปัจจุทธะรามิ. ข้าพเจ้ายกเลิกผ้า สังฆาฏิ* ผืนนี้.
*ของบริขารอื่นๆ พึงเปลี่ยนตามชื่อ (โดยเทียบกับคำอธิษฐาน)

คำวิกัป
วิกัป คือ การทำให้เป็น ๒ เจ้าของ ทำได้ ๒ แบบ คือ
๑. วิกัปต่อหน้า คือ วิกัปต่อหน้าผู้รับ
๒. วิกัปลับหลัง คือ วิกัปให้สหธรรมิกรูปใดรูปหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในที่นั้น โดยเปล่งวาจาต่อหน้าสหธรรมิกรูปอื่น

คำวิกัปต่อหน้า (ในหัตถบาส)
จีวร
(ผืนเดียว)   ๐ อิมัง* จีวะรัง ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
(หลายผืน)   ๐ อิมานิ* จีวะรานิ ตุย๎หัง วิกัปเปมิ.ข้าพเจ้าวิกัปจีวรทั้งหลายเหล่านี้แก่ท่าน.
บาตร
(ใบเดียว)    ๐ อิมัง* ปัตตัง ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปบาตรใบนี้แก่ท่าน.
(หลายใบ)   ๐ อิเม* ปัตเต ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปบาตรเหล่านี้แก่ท่าน.

คำวิกัปลับหลัง (ในหัตถบาส)
ให้ผู้แก่พรรษากว่า
๐ อิมัง* จีวะรัง อายัส๎มะโต อุตตะรัสสะ** วิกัปเปมิ.
ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่านอุตฺตโร**.
*ถ้าของอยู่นอกหัตถบาส ให้เปลี่ยน อิมัง เป็น เอตังอิมานิ เป็น เอตานิอิเม เป็น เอเต,
**ชื่อนี้ ให้เปลี่ยนตามชื่อสหธรรมิกที่ต้องการวิกัปให้.
ให้ผู้อ่อนพรรษากว่า
๐ อิมัง* จีวะรัง อุตตะรัสสะ** ภิกขุโน วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่านอุตฺตโร**.
จีวรหลายผืนบาตรใบเดียว และบาตรหลายใบ
ถ้าต้องการวิกัปลับหลังทั้งในหัตถบาส และนอกหัตถบาส พึงเทียบตามแบบวิกัปต่อหน้า
จีวรที่วิกัปไว้แล้ว เก็บไว้ได้ แต่ไม่ควรใช้สอย ไม่ควรสละ ไม่ควรอธิษฐาน ถ้าภิกษุรูปใดนำมาใช้โดยที่สหธรรมมิก ผู้รับวิกัปนั้นไม่ถอนเสียก่อน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

คำถอนวิกัป
ผู้ถอนแก่พรรษากว่า
๐ อิมัง* จีวะรัง มัย๎หัง สันตะกัง ปะริภุญชะวา วิสัชเชถะหิ วา ยะถาปัจจะยังวา วา กะโรหิ.
จีวร ผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม หรือทำตามเหตุที่สมควรก็ตามเทอญ.
ผู้ถอนอ่อนพรรษากว่า
๐ อิมัง* จีวะรัง มัย๎หัง สันตะกัง ปะริภุญชะถะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยังวา วา กะโรถะ.
จีวร ผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม หรือทำตามเหตุที่สมควรก็ตามเทอญ.

คำสละสิ่งของที่เป็นนิสสัคคีย์
อดิเรกจีวรที่เก็บไว้เกิน ๑๐ วัน
ผืนเดียว ๐ อิทัง* เม ภันเต จีวะรัง ทะสาหาติกกันตัง นิสสัคคิยานัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑๐ วัน จำสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.
(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน ภันเต” เป็น อาวุโส”, เปลี่ยนท่านเจ้าข้า” เป็นท่าน”)
ตั้งแต่ ๒ ผืนขึ้นไป ๐ อิมานิ เม ภันเต* จีวะรานิ ทะสาหาติกกันตานิ นิสสัคคิยังอิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า*  จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑๐ วัน จำสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.